จริงหรือมั่ว? ลูกคนกลาง พ่อแม่ไม่รัก (Wednesday’s Child)

จริงหรือมั่ว? ลูกคนกลาง พ่อแม่ไม่รัก (Wednesday’s Child)

ในมุมมองหนึ่ง ‘ลูกคนกลาง’ ดูเหมือนจะต้องแบกรับภาระทางใจอันหนักอึ้ง บางคนแทบไม่ได้รับความสนใจเลยเพราะจุดโฟกัสของพ่อแม่อยู่ที่พี่และน้อง บางคนกล่าวว่าลูกคนกลาง พ่อแม่ไม่รักเลยก็มี ทำดีก็ไม่ได้รับความใส่ใจ ต้องไกล่เกลี่ยปัญหาพี่น้อง บ้างก็ต้องใช้ของต่อจากพี่ โดนเปรียบเทียบ แม้ครอบครัวของคุณจะยังมีลูกเพียงคนเดียวหรือสองคนก็ควรทำความเข้าใจประเด็นนี้ไว้เพื่อมอบความรักให้ทุกคนเท่ากันและอุดรอยรั่วปัญหาที่มาแบบคลื่นได้ทะเลไว้ตั้งแต่แรก
วันนี้เราจะพาทุกท่านมารู้จักกับ Wednesday’s Child หรือลูกคนกลาง ใครที่เคยดูซีรีส์สุดฮอต #1 บน Netflix ในนาทีนี้ต้องรู้จักกับน้อง Wednesday Addams และบทกลอนที่ว่า ‘Wednesday’s child is full of woe’ อย่างแน่นอน แล้วลูกคนกลางจะเต็มไปด้วยปัญหา ความโศกเศร้าและไม่ได้รับความรักจริงไหมไปค้นหาคำตอบกันเลย

ปรากฏการณ์ลูกคนกลาง พ่อแม่ไม่รักที่คนในครอบครัวต้องเรียนรู้!

สำหรับกลุ่มอาการลูกคนกลาง ภาษาอังกฤษเรียกว่า Middle Child Syndrome คือ ความเชื่อที่ว่าเด็กที่เป็นลูกคนกลาง พ่อแม่ไม่รักจะถูกเพิกเฉย ไม่ได้รับความใส่ใจมากพอจากพ่อแม่ จนเกิดความรู้สึกแปลกแยกไม่สนิทกัน เป็นเหตุมาจากลำดับของการเกิด (Order of Birth)

นักจิตวิทยา ‘อัลเฟรด แอดเลอร์’ ได้คิดค้นทฤษฎีจิตวิทยารายบุคคลขึ้นมา รู้จักกันในชื่อ Adler’s Individual Psychology ซึ่งมีการศึกษาพฤติกรรมของลูกคนกลางในหลากหลายมิติ  ซึ่งอิทธิพลของลำดับการเกิดนั้นส่งผลต่อบุคลิกภาพของลูกคนกลาง หากถามว่าลูกคนกลางมักมีพฤติกรรมอย่างไร เขามีความอดทนสูง มีความทะเยอะทะยานไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค แต่เบื้องลึกเป็นคนดื้อรัน มักรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความรักจากครอบครัว จึงอยากเอาชนะทั้งพี่และน้อง 

แถมลูกคนกลาง จิตวิทยาแล้วจะรู้สึกไร้ตัวตนเพราะนอกจากพ่อแม่เอง ยังคิดว่าคุณปู่ ย่า ตายายให้ความรักกับอีกสองคนมากกว่า โดยบางคนอาจมีหลายบุคลิกอยู่บ้านเงียบสนิท ออกไปข้างนอกกลับคุยเก่งเพื่อปลดปล่อยความอัดอั้น หรือบางคนอาจแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม เกเรเพื่อเรียกร้องความสนใจ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าการเป็นจุดตรงกลางก็สามารถสร้างแผลในจิตใจได้

Wednesday’s Child Is Not Always Full of Woe

แม้ Nursery rhyme จะเชื่อว่าลูกคนกลางจะเต็มไปด้วยปัญหา ‘Wednesday’s child is full of woe’ แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปหากคุณเรียนรู้วิธีเลี้ยงลูกทุกคนอย่างเท่าเทียมตั้งแต่แรก ใครสงสัยว่าทำไมต้องเป็นวันพุธด้วยล่ะ นั่นก็เพราะวันพุธเป็นวันกลางสัปดาห์ระหว่างจันทร์ถึงศุกร์ที่ไม่น่าพิศมัยเท่าไหร่ ไร้สีสันสำหรับชาวต่างชาติ ต่างจากวันหยุดสุดสัปดาห์ที่เต็มไปด้วยความสุข

ในบางประเทศมีการกำหนด National Middle Child Day เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงลูกคนกลางอีกด้วย เพราะเขาก็มีความสำคัญเท่ากันทุกคน อย่างประเทศอังกฤษก็กำหนดให้วันที่ 12 สิงหาคมคือวันลูกคนกลางแห่งชาติ

แต่ดังที่กล่าวไปว่าลูกคนกลางไม่ใช่เรื่องร้ายเสมอไป เพราะความรู้สึกว่าลูกคนกลาง พ่อแม่ไม่รักผลักดันให้เขาทำทุกอย่างด้วยตัวเองเป็น มีความเป็นผู้ใหญ่และมีความรับผิดชอบและความเข้มแข็งในตัวเอง และพยายามสร้างความแตกต่างกับพี่น้องเพื่อให้คนในบ้านมองเห็น ยกตัวอย่างด้านบวกของลูกคนกลาง เช่น

  • การเป็นศาลไกล่เกลี่ยระหว่างพี่น้อง

Wednesday’s child เป็นคนกลางระหว่างพี่ใหญ่และน้องคนสุดท้องอยู่เสมอ ดังนั้นเขาจึงสามารถเป็นผู้ที่ประนีประนอมในชีวิตจริงและสามารถแก้ปัญหาการทะเลาะกันระหว่างกลุ่ม อาชีพที่เหมาะกับเขาคืออาชีพที่ต้องใช้ทักษะการแก้ปัญหาที่ดี

  • ลูกคนกลางเป็นตัวของตัวเอง

ดังที่กล่าวไปว่าลูกคนกลางนั้นสร้างความแตกต่าง มีความเป็นตัวเองสูง ใช้ชีวิตแตกต่างจากพี่น้อง สามารถอยู่ตัวคนเดียวได้อย่างมั่นใจ เห็นคุณค่าในตนเองและเดินตามเส้นทางของตัวเองไม่ใช้คนอื่น

  • เมื่อมี Passion อยากทำก็ได้ทำ

บทพระเอกอาจจะเป็นของพี่คนโตที่ตั้งอยู่บนความคาดหวังของพ่อแม่ แต่สำหรับลูกคนกลางอยากทำอะไรก็สามารถทำได้ตามใจปรารถนาและเป็นตัวเอกในเรื่องราวของตัวเอง เมื่อมีอิสระทางความคิดแล้วการไปสู่เส้นชัยตาม Passion ก็ไม่ยากเลย

จบปัญหา! ลูกคนกลาง พ่อแม่ไม่รัก เริ่มต้นจากตัวผู้ปกครองเอง

ถึงแม้ว่าการเป็นลูกคนกลางจะไม่ได้มีข้อเสียเสมอไป แต่คงไม่มีใครอยากให้เกิดปัญหาลูกคนกลาง พ่อแม่ไม่รักหรอกจริงไหม ซึ่งสมัยนี้หลาย ๆ ครอบครัวไม่ได้มีปัญหานี้กันแล้วเพราะมีความรู้ความเข้าใจ ต้นตอของปัญหามาจากการไม่ได้รับความเท่าเทียมระหว่างพี่น้องนั่นเอง ฉะนั้นการป้องกันก็คือการไม่ทำให้ลูกคนใดคนหนึ่งรู้สึกว่ามีคนที่ได้รับความรัก ความเอาใจใส่มากกว่า

โดยไม่บรรทัดของพ่อแม่และลูกอาจจะไม่เท่ากัน วัดไม่ได้ว่าได้ความรักมากพอหรือยัง จำเป็นต้องดูลักษณะของแต่ละบุคคล หากจะให้ก็ให้มากทุกคนไม่ลำเอียง และไม่ตอบสนองความต้องการที่เกินเหตุของลูกซึ่งอาจนำพาปัญหาตามมาก็ได้

บทความล่าสุด