ไม่ว่าใครก็คงอยากเป็นคนดีกันทั้งนั้น ตั้งแต่เด็กเราถูกสอนให้ทำดี ให้เป็นคนซื่อสัจสุจริต และเราก็เชื่อในคำสอนพวกนี้ เราเชื่อว่าคนไม่ดีคือขโมยที่ต้องโดนตำรวจจับ เราเชื่อว่าคนดีคือช่วยเหลือคนอื่น
แต่ยิ่งเราโตมาเราก็ยิ่งสับสนมากขึ้น เพราะสิ่งที่อยู่ระหว่างการเป็นขโมยและการช่วยเหลือคนอื่นมีเยอะเหลือเกิน และปัญหาก็ยิ่งมากขึ้นเมื่อเรารู้ตัวว่าเราเป็นคนที่อยู่ระหว่างสองอย่างนี้ เราเข้าใจว่าเราไม่ได้ทำอะไรร้ายแรงขนาดจะถูกเรียกว่าเป็นคนไม่ดี…แต่เราเป็นคนดีหรือเปล่านะ
เราจะรู้ได้ยังไง ว่าเราเป็นคนดีไหม
เราสามารถสังเกตตัวเองได้ว่าเราเป็นคนดีหรือเปล่า ยกตัวอย่างเช่น เราเป็นคนที่มีความเห็นอกเห็นใจและหวังดีต่อคนอื่น เราเป็นคนที่พยายามก้าวผ่านอคติของตัวเองและรู้จักแก้ไขเเวลาตัวเองได้ทำผิด เราสามารถสนับสนุนคนรอบตัวและสามารถดูแลตัวเองให้ดีได้ และเราสามารถผ่านเกนท์การเป็นคนดีของตัวเอง
ปัญหาก็คือ คนไม่ดีส่วนมากไม่ค่อยใส่ใจหรอกว่าตัวเองเป็นคนไม่ดี เพราะฉะนั้นคนประเภทนี้ก็จะไม่ถามคำถามเป็นนี้ออกมา ส่วนคนดีส่วนมากก็มักจะคิดเยอะเกินไป ยิ่งเราอยากรักษาน้ำใจคนอื่น ยิ่งเราเกรงใจคนอื่นมากเท่าไร เราก็ยิ่งไม่มั่นใจในการตัดสินใจในตัวเอง
นอกจากนั้นแล้วคนทุกคนยังมี ‘อคติ’ เป็นของตัวเอง คนที่สามารถยอมรับได้ว่าตัวเองมีอคติ (อาจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆของแต่ละคน) ก็จะยอมรับได้ว่า ‘ความคิดเห็นที่ตัวเองมี…ต่อตัวเอง’ นั้นอาจจะไม่จริงก็ได้…เพราะฉะนั้นมุมมองที่ว่า เราเป็นคนดี ถึงได้เกิดออกมา…เราไม่มั่นใจในการตัดสินตัวเองนั่นเอง
คำตอบแบบขีดเส้นใต้ว่าดีหรือไม่ดี…คงไม่มีหรอก แต่เราสามารถ ‘ทำความเข้าใจ’ ได้ว่าเราเป็นคนที่ดีกว่าหรือแย่กว่าเดิมหรือเปล่า
คนไม่ดีที่คิด ว่าตัวเองเป็นคนดี
การเป็นคนดีหรือไม่ดีนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่สาเหตุที่คนไม่ดีคิดว่าตัวเองเป็นคนดีก็เพราะว่าคนพวกนี้ ‘เข้าใจตัวเองน้อยเกินไป’
‘เข้าใจตัวเองน้อยเกินไป’ มาได้จากหลายสาเหตุเลย บางครั้งเราก็มัวแต่กังวลเรื่องปัญหาส่วนหนึ่งของชีวิตจนลืมคิดเรื่องที่เหลือ บางครั้งเราก็ไม่ได้สังเกตุอะไรรอบตัว ไม่ได้มองว่าคนรอบข้างรู้สึกยังไง
คนที่ขี้เกรงใจอาจจะคิดว่าตัวเองเป็นคนดี แต่ ‘ความลังเล’ ไม่กล้าตัดสินใจเพราะกลัวคนอื่นเสียใจ (เป็นอาการที่มาจากความขี้เกรงใจ) อาจจะทำให้คนรอบข้างรำคาญก็เป็นได้
บางคนอาจจะคิดว่าตัวเองเป็นคนดีเพราะได้ทำงานช่วยสังคม ได้บริจาคเงินให้คนอื่นมากมาย แต่สิ่งที่ทำทั้งหมดคือทำเพื่อไว้อวดคนอื่นหรือทำให้ตัวเองรู้สึกสูงขึ้น ไม่ได้ทำเพื่อ ‘อยากช่วยสังคมจริงๆ’
บางคนอาจจะคิดว่าตัวเองเป็นคนดีเพราะ ‘เราเป็นคนดี’ แต่พอถามคนประเภทนี้ว่าเคยทำความดีอะไรบ้าง เคยช่วยเหลือใครมาบ้างหรือเปล่า ใส่ใจกับคนรอบข้างแคไหน คำตอบที่เราจะได้จะน่าพึงพอใจแค่ไหนกัน
ตัวอย่างการเป็น ‘คนไม่ดี’ ในข้อนี้สำคัญมากครับ เดี๋ยวผมจะวนกลับมาพูดเรื่อง คนไม่ดีอีกรอบหลังจากเราเข้าใจว่าคนดีคืออะไรกันแน่
คนดีดูยังไง…และคนดีคืออะไรกันแน่
หากมีคนถามคุณว่า…เป็นคนดีหรือเปล่า คำตอบของคุณคืออะไรครับ นิยามของการเป็นคนดีและคนไม่ดีของคุณคืออะไร คนดีมีลักษณะอย่างไรกันนะ
ความหมายของคำว่าดีหรือไม่ดีมีหลายอย่าง คนไม่ดีก็คือฮิตเลอร์ คนดีก็คือซูปเปอร์แมน แต่มนุษย์ส่วนมากก็อยู่ระหว่างสองตัวอย่างนี้เหล่ะ
คำว่าเป็นคนดี…ที่ดีจริงๆ…ก็คือการที่เรามี ‘ความหวังดี’ และ ‘การกระทำที่ดีด้วย’
ยกตัวอย่างคนขี้เกรงใจมากเกินงานจนทำให้คนอื่นรำคาญหรือลำบาก…คนประเภทนี้เป็นคนที่หวังดีต่อคนอืน…แต่การกระทำของเค้าออกมาได้ไม่ดี หมายความว่าเป็นคนดีที่อาจจะตัดสินใจอะไรในชีวิตผิดจนทำให้เกินผลลัพท์ที่ไม่ดี
ในทางตรงข้ามคนที่ชอบช่วยคนอื่นเพราะอยากจะเอาเรื่องราวพวกนี้ไปอวดคนอื่น…ก็อาจจะไม่ใช่คนดีที่แท้จริงก็ได้ เพราะคนพวกนี้อาจจะไม่ได้ทำเพราะความหวังดีจริงๆ ผมไม่ได้บอกว่าการอวดความดีเป็นเรื่องที่ผิดนะครับ แต่แค่การทำความดีเพราะเรา ‘แค่อยากอวด’ เป็นเรื่องที่น่าตั้งคำถาม อย่างไรก็ตามเราก็ไม่สามารถรับรู้ความตั้งใจหรือความหวังดีของคนอื่นได้หรอก ทุกคนมีหน้าที่ต้องตัดสินตัวเอง
ตัวอย่างสุดท้ายก็คือการที่เราเป็นคนที่ไม่รู้จริงๆว่าอะไรดีหรือไม่ดี บางทีเราอาจจะเป็นเด็กยังไม่รู้ชอบชั่วดีเลยไปแย้งขนมเพื่อน บางทีเราอาจจะอยู่ในสังคมที่ยอมรับการเอาเปรียบเล็กๆน้อยๆได้ ถ้าเราเชื่อว่าความดีคือสิ่งที่มีขาวมีดำ ทุกอย่างวัดค่าได้ เราก็อาจจะลืมไปว่าคนเราสามารถเรียนรู้และพัฒนาจากความผิดพลาดในอดีตได้เช่นกัน
สรุปอีกรอบนะครับ คนดีคือคนที่มีทั้งความหวังดีและการกระทำที่ดี…และคนส่วนมากคือคนที่กำลังเรียนรู้จุดยืนตัวเองอยู่ว่าแบบไหนคือความหวังดีและแบบไหนคือการกระทำที่ดี
คนไม่ดีคือ
ส่วนคนไม่ดีก็คือคนที่ไม่มีทั้งความหวังดีและการกระทำที่ดี ยกตัวอย่างเช่นคนที่จงใจทำร้ายผู้อื่นเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองเป็นต้น ตามกฏของสังคมแล้ว คนที่ทำผิดกฏหมายก็คงเป็นคนที่ไม่ดี
ทีนี้เราก็จะมาถึงจุดที่ยากที่สุดของคำถามนี้แล้ว ซึ่งก็คือ
ความหวังดีคืออะไร….และการกระทำที่ดีคืออะไร
สุดท้ายแล้วเราก็ไม่สามารถบอกได้หรอกครับว่าความหวังดีของแต่ละคนคืออะไร เพราะทุกคนมีเกณฑ์วัดความดีไม่เหมือนกัน ถ้าเราโชคดีได้อยู่ในสังคมที่ใช้เกณฑ์วัดตรงกับพฤติกรรมและความคิดของเรา เราก็จะอยู่ได้สบายมากกว่า (ผมใช้คำว่าอยู่ได้สบาย ไม่ได้บอกว่าอยู่ได้อย่างเป็นคนดี…เพราะบางครั้งเกณฑ์ของสังคมก็อาจจะผิดได้เช่นกัน)
สิ่งที่บอกได้ทันทีก็คือหากคุณจงใจทำอะไรด้วยความไม่หวังดี และ สิ่งพวกนี้ทำให้เกิดผลลัพท์ที่ไม่ดีกับคนอื่น…คุณก็คงเป็นคนที่ไม่ดีแน่นอน และหากคุณไม่ใช่ คุณก็ต้องดูแต่ละกรณีว่าคุณเป็นคนดีหรือไม่ดี
สถานะ…ของการเป็นคนดี
ส่วนสุดท้ายของการดูว่าคนดีคนไม่ดีเป็นอย่างไร…ก็คือการยอมรับว่าคนเราเปลี่ยนกันได้
คนที่ไม่ได้หวังดี…ก็สามารถปรับมุมมองเรียนรู้ที่จะใส่ใจกับคนรอบข้างมากขึ้นได้
คนที่ทำผิดทำไม่ดี…ก็สามารถเรียนรู้แก้ไขได้
และในมุมมองกลับกัน คนที่ทำดีก็สามารถกลายเป็นคนไม่ดีได้เหมือนกัน ในกรณีนี้เราก็ต้องมีสติและพยายามทำความเข้าใจสถานการณ์อย่างไม่มีอคติ
สุดท้ายแล้ว หากคุณอ่านบทความนี้จบ ผมเข้าใจว่าคุณเป็นคนที่สงสัยและอยากจะเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองพอสมควรเลยทีเดียว…ของบางอย่างในชีวิต ถ้าเราปล่อยอีโก้ออกไปบ้าง ปล่อยมุมมองที่เราเคยกอดเอาไว้ ปล่อยอคติตัวเองออกไป แล้วพยายามทำความเข้าใจสถานการณ์ข้างหน้าให้ดีที่สุด การกระทำแบบนี้ หากคุณทำอย่างสม่ำเสมอก็สามารถทำให้คุณเป็นคนที่ดีขึ้นได้
บทความล่าสุด
การจัดโต๊ะคอมให้สวยถูกใจ พร้อมฟังก์ชันการใช้งานครบครัน...
ในมุมมองหนึ่ง ‘ลูกคนกลาง’ ดูเหมือนจะต้องแบกรับภาระทางใจอันหนักอึ้ง...