Coaching คืออะไร? มีรูปแบบต่างจากการสอนแบบอื่นยังไงบ้าง?

Coaching คืออะไร? มีรูปแบบต่างจากการสอนแบบอื่นยังไงบ้าง?

ถ้าจะให้พูดรวมๆ ชีวิตคนเราก็มีอยู่แค่สองปัญหา ก็คือไม่รู้ว่าปัญหาคืออะไร และ ไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไร ซึ่งหากเราเป็นคนมีสติอยู่เสมอและสามารถแก้ปัญหาให้ตัวเองได้เรื่อยๆก็เป็นเรื่องดี แต่สำหรับคนทั่วไปนั้นการมีโค้ช (Coach) มาช่วยคิด ช่วยแก้ปัญหาให้เราได้ ก็เป็นเรื่องที่ดี

ความแปลกของมนุษย์ก็คือ เวลาเราเจอปัญหาอะไรยาก เราก็จะเครียดและไม่ค่อยมีสติ ทำให้การสังเกตจุดอ่อนของตัวเองหรือทิศทางการแก้ปัญหาทำได้ยากมาก และ สุดท้ายเราก็จะจมอยู่กับปัญหานี้ซ้ำไปซ้ำมา…จนกว่าจะมีคนที่มีความรู้หรือความน่าเชื่อถือมาช่วยแนะแนวให้ตัวเรา…หรือการมีโค้ชนั่นเอง

ในบทความนี้ผมจะขออธิบายว่า การโค้ชชิ่ง (Coaching) คืออะไร และ การโค้ชชิ่งแตกต่างยังไงกับวิธีการสอนและการถ่ายทอดความรู้แบบอื่น

Coaching คือ

โค้ชชิ่ง (Coaching) คือ การชี้แนวทางเพื่อให้คนที่มีประสบการณ์หรือโค้ชสามารถสนับสนุนให้ผู้เรียนบบรรลุเป้าหมายทางชีวิตหรือทางการงานได้ การโค้ชชิ่ทำให้ผู้ถูกโค้ชสามารถเห็นปัญหาและโอกาสที่ตัวเองไม่เคยคิดมาก่อน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

โดยเบื้องต้นแล้ว การโค้ชชิ่งมีประโยชน์ดังนี้

  • ทำให้คนสามารถเห็นโอกาสหรือปัญหาที่ตัวเองอาจไม่เคยคิดมาก่อน
  • ทำให้คนสามารถตั้งเป้าหมายในมุมมองต่างๆของชีวิต เช่น การทำงาน การใช้ชีวิต งานอดิเรก
  • ทำให้คนเห็นทิศทางในการเดินตามเป้าหมายได้ง่ายขึ้น

การโค้ชชิ่งเป็นวิธีถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้จากรุ่นสู้รุ่นที่มีมานานแล้ว เช่นโค้ชกีฬา หรือโค้ชด้านการแสดง ยิ่งเป็น ‘หน้าที่การงาน’ ที่อาศัยประสบการณ์และมุมมองมากกว่า ‘ความรู้ทางทฤษฎี’ การโค้ชชิ่งก็ยิ่งมีความสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ในสมัยนี้ที่คำว่าโค้ชถูกนำมาใช้งานบ่อยมากขึ้น เราก็จะเห็นได้ว่าในอุตสาหกรรมต่างๆ โค้ชในหลายๆมุมมองก็มีเยอะขึ้น เช่น โค้ชการตลาด โค้ชการเงิน หรือโค้ชชีวิต (ไลฟ์โค้ช)

และแน่นอนว่า เนื่องจากคำว่า ‘โค้ช’ นั้นเป็นวิธีการสอนที่ค่อนข้างใหม่สำหรับหลายๆคน ในบทความส่วนถัดไปเราจะมาดูกันว่าการโค้ช (Coaching) การสอน (Teaching) และ การให้คำปรึกษา (Counselling) นั้นต่างกันอย่างไรบ้าง

Coaching ต่างจากการสอนและการให้คำปรึกษาแค่ไหน

การสอน Teaching-Training.

การสอน Teaching-Training หมายถึงการมีคุณครูหรือผู้สอนที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนได้

ซึ่งเรื่องของครูและนักเรียนนั้นก็เป็นตัวอย่างที่เราเห็นได้ง่าย ถึงแม้ว่าครูบางคนอาจจะใช้วิธีการโค้ชเพื่อช่วยในการสอนด้ว แต่ส่วนมากวิธีแบบนี้จะพึ่งพาการที่ครูรู้อยู่แล้วว่าคำตอบแบบไหนดีที่สุด และให้ถ่ายถอด พูดคุย หรือสอนให้นักเรียนเข้าใจมากกว่า ซึ่งแน่นอนว่าเนื้อหาก็ควรจะเป็นอะไรที่มีคำตอบตายตัวอย่างบทเรียนในโรงเรียน เป็นต้น

การโค้ช Coaching 

การโค้ช Coaching คือการสอนที่ทำให้นักเรียนสามารถค้นหาคำตอบด้วยตัวเองได้ เป็นการสอนที่เชื่อว่าทุกคนมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน และไม่มีวิธีไหนดีที่สุด ทุกอย่างขึ้นอยู่กับทักษะ ความชอบ และ ประสบการณ์ส่วนตัวของแต่ละคน

โค้ชต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่รู้เกี่ยวกับปัญหาของนักเรียนดีที่สุด แต่ต้องมีความสามารถในการทำให้นักเรียนสามารถเห็นศักยภาพในตัวเองให้ได้ 

ซึ่งโดยส่วนมาก โค้ชจะใช้วิธีใน ‘การถาม’ เพื่อให้นักเรียนสามารถคิดและแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง เช่น ทำอะไรแล้วมีความสุข ทำไมถึงคิดว่าทำแบบนี้แล้วดี ทำไมถึงไม่สามารถทำแบบนี้ได้ตลอด อะไรเป็นอุปสรรคต่างๆ 

ตามนิยามแล้ว โค้ช ไม่ได้จำเป็นต้องมีประสบการณ์หรือความรู้เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ผู้ถูกโค้ชมี เช่น คนที่ไม่เคยแต่งงานก็สามารถโค้ชคนที่มีปัญหาชีวิตคู่ได้ ตราบใดที่โค้ชยังมีทักษะในการถาม การสังเกต และ การกระตุ้นให้คิด

อย่างไรก็ตาม โค้ชที่เน้นสอนหรือให้คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์หรือทักษะของตัวเองก็สามารถเรียกว่า Mentor (พี่เลี้ยง) ได้ ซึ่งเป็นคำที่ใช้บ่อยในที่ทำงานหรือในบริบทที่เน้นด้านการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะ

การให้คำปรึกษา Counselling

การให้คำปรึกษา Counselling หมายถึงการทำงานร่วมกับคนที่รู้สึกอึดอัดหรือไม่พึงพอใจกับชีวิต คนเหล่านี้อยากได้คำแนะนำและแนวทางการใช้ชีวิต ซึ่งผู้ให้คำปรึกษาก็มีหน้าที่ในการช่วยแก้ปัญหาแล้วนี่ 

ในบริบทของการสอนและการให้คำแนะนำ Counselling (แบบภาษาอังกฤษ) จะมีความหมายด้านการแก้ปัญหาทางจิตใจมากกว่า เช่น การยึดติดกับอดีตมาเกินไป และความกลัวต่างๆ

อย่างไรก็ตามในภาษาไทย คำว่าการให้คำปรึกษา ก็เป็นคำที่กว้างก็นั้น สามารถรวมถึงการให้คำปรึกษาในมุมมองต่างๆ เช่นการทำงาน ในการใช้ชีวิตคู่ด้วยก็ได้

ผมอยากให้มองสิ่งเหล่านี้เป็น ‘กิจกรรม’ มากกว่าตำแหน่งและหน้าที่ เพราะคนที่มีอาชีพครูก็สามารถใช้วิธีการโค้ชหรือการให้คำปรึกษาในการช่วยเหลือนักเรียนได้ และคนที่มีอาชีพเป็นโค้ช ก็คงต้องพึ่งพาทักษะการสอน การใช้ความรู้เฉพาะทาง ในการช่วยแก้ปัญหาให้กับนักเรียนบางครั้ง

สุดท้ายนี้ ผมอยากจะบอกว่าการเรียนรู้และการแก้ปัญหาต่างๆนั้นมีหลายวิธีมาก หลายคนที่สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง หรือแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้ก็ดีไป แต่สำหรับคนส่วนมาก การมีโค้ชมาช่วยคิดช่วยเปลี่ยนมุมมองให้ ก็ถือว่าเป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก

บทความล่าสุด