ช่วงชีวิตวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่วิเศษ เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ สิ่งหนึ่งที่วัยรุ่นต้องการคือ การเป็นที่ยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นจากเพื่อนฝูง หรือจากครอบครัว
วันนี้ผมจะมาพูดถึงเรื่องครอบครัวเป็นหลัก เพราะดูเหมือนเป็นอะไรที่ใกล้ตัว และสำคัญกับเรามากที่สุดย่างหนึ่ง พ่อแม่ส่วนมากเมื่อลูกเริ่มเติบโตขึ้น จะเริ่มไม่ค่อยเข้าใจลูกมากขึ้น
11 สิ่งที่ทำได้หากพ่อแม่ไม่เชื่อใจเรา
คำที่เรียกว่า “Generation Gap” หรือ “ช่องว่างระหว่างวัย” เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใหม่ และไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยในสังคมสมัยก่อน
อาจเป็นเพราะพ่อแม่ในยุคนี้ทำงานค่อนข้างหนัก จึงไม่ค่อยมีเวลาร่วมกับลูกมากนัก อีกทั้งโลกของเด็กสมัยนี้ค่อนข้างเปิดกว้าง การมีอินเทอร์เน็ตทำให้เด็กในยุคนี้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วและเห็นชัด
ในฐานะของพ่อแม่ ต้องพยายามทำความเข้าใจในจุดนี้ และรีบตระหนักรู้อย่างรวดเร็ว
แต่ในฐานะลูกนั้น วันนี้ผมมีวิธีที่จะสร้างความไว้ใจของพ่อแม่ให้ ดังนี้
4 วิธีการสื่อสารกัน (สำคัญที่สุด)
#1.รู้จักขอโทษเมื่อทำผิด
การที่อารมณ์รุนแรงไปบ้าง หรือเผลอทำร้ายจิตใจพ่อแม่ไป เรื่องนั้นหากมันเกิดขึ้นแล้ว การขอโทษอย่างจริงใจเป็นสิ่งที่ควรทำ การพูดขอโทษนั้น ทำให้พ่อแม่เห็นถึงการรู้จักให้อภัยของเรา
นั่นอาจทำให้พวกเขาเชื่อใจเราขึ้นมาได้บ้างก็ได้ ในสังคมเราที่เราไม่ค่อยเปิดโอกาสให้พูดกันตรง ๆ อาจเป็นสิ่งที่ยากสักนิด แต่ถ้าเราได้พูดแล้ว นั่นจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของความสัมพันธ์ในครอบครัวอย่างแน่นอน
#2.พูดคุยกันอย่างจริงจัง ทำอย่างไรให้ได้รับความเชื่อใจ
อาจเป็นวิธีที่ดูขวานผ่าซากไปสักนิด วิธีนี้น่าจะขึ้นอยู่กับแต่ละครอบครัวด้วย หากเป็นครอบครัวที่พอจะพูดคุยกันได้ การถามไปตรง ๆ นั้นก็เป็นอะไรที่ดีไม่น้อย
แต่อย่าลืมเด็ดขาด ว่าต้องปราศจากอารมณ์โกรธ นี่คือการพูดคุยกัน ไม่ใช่การประชดประชัน หรือถากถางกัน เราอาจจะไม่ได้คำตอบเดี๋ยวนั้น แต่เชื่อว่าพ่อแม่จะค่อย ๆ เปิดใจให้กับเราอย่างแน่นอน
#3.เชื่อใจพ่อแม่บ้าง
อย่างที่เขาบอก ว่าใจแลกใจ คำนี้ใช้ได้อย่างแน่นอนกับคนในครอบครัวอย่างพ่อแม่
หากคุณอยากได้รับความไว้วางใจจากพ่อแม่ การไว้วางใจพวกเขาก่อนนั้นเป็นทางเลือกที่ดี เชื่อที่พวกท่านพูดบ้าง ความเป็นวัยรุ่น
บางครั้งการเชื่อตัวเอง หรือเชื่อคนที่เราอยากเชื่อนั้นง่าย แต่บางเรื่อง ลองเชื่อใจพ่อแม่ดู แล้วคุณจะได้รับความไว้วางใจกลับมาอย่างแน่นอน
#4.ฟังที่พ่อแม่พูดบ้าง
การสื่อสารที่ดีและได้ผล จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทั้งพูดคุยกัน และรับฟังกัน พยายามสวมหมวกของพ่อแม่ดู แล้วเราอาจจะเห็นความเป็นห่วงของพ่อแม่บ้าง
หากในบางครั้ง พ่อแม่พูดอะไรที่ทำให้เราเกิดความไม่พอใจ ให้ลองถามออกไปเลย การสื่อสารแบบเปิดจะทำให้พ่อแม่เราไว้ใจเรามากขึ้นนะครับ
5.การกระทำ เพื่อพิสูจน์ตัวเอง
#1.ลองใช้เวลาร่วมกันดู
การได้ใช้เวลาร่วมกันกับครอบครัว ย่อมส่งผลดีกับความสัมพันธ์อย่างแน่นอน
การได้ใช้เวลากับครอบครัวก็เป็นการทำให้พ่อแม่เห็นว่า เมื่อเวลานี้เรายังใช้ได้อย่างมีคุณภาพ เวลาอื่น ๆ ก็น่าจะเป็นแบบนั้นเช่นกัน
การใช้เวลาร่วมกันยังแสดงให้เห็นถึงตัวตนของคุณอยู่บ้างไม่มากก็น้อย การมีอารมณ์ขัน หรือแม้แต่การนำไปสู่การสนทนาที่ดีด้วย
#2.แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบ
การรับผิดชอบดูแลหน้าที่ของตนเอง หรือแม้แต่การช่วยพ่อแม่ทำอะไรบ้าง แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบสิ่งต่าง ๆ ได้
มันทำให้พ่อแม่มองเห็นคุณสมบัตินี้ในตัวคุณ สิ่งนี้นอกจากจะช่วยในการสร้างความไว้วางใจแล้ว ยังช่วยสร้างบทสนทนาที่ดีได้ด้วย
#3.แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจ
การแสดงให้พ่อแม่เห็นถึงความใส่ใจและห่วงใย ไม่ว่าจะเป็นการห่วงใยพ่อแม่ หรือห่วงใยตัวเอง และอีกหลาย ๆ ความสัมพันธ์
นั่นเป็นองค์ประกอบของความสัมพันธ์ที่ดี และยังช่วยสร้างความไว้วางใจอีกด้วย การใส่ใจรายละเอียดและรู้จักชื่นชมผู้อื่นอย่างจริงใจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีนะครับ
#4.ซ่อมแซมความสัมพันธ์
หากเราเผลอทำร้ายจิตใจพ่อแม่ไป นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พ่อแม่อาจไม่ไว้วางใจเราได้ สิ่งที่ควรทำคือการขอโทษอย่างจริงใจ
อาจจะไม่ได้เป็นการพูดออกมาตรง ๆ แต่เปลี่ยนเป็นการกระทำก็ได้ อย่างเช่น การช่วยงานบ้านแม่บ้าง หรือช่วยพ่อล้างรถบ้าง สิ่งเหล่านี้ต้องทำอย่างเต็มใจ เพื่อให้พ่อแม่เห็นด้วยนะครับ
#5.แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง
แสดงให้พ่อกับแม่เห็นว่า เราสามารถรับผิดชอบ ดูแลตนเองได้
รวมไปถึงเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้นได้ อย่างเช่น การเก็บที่นอนในทุก ๆ เช้า รวมถึงการรับผิดชอบในหน้าที่ตนเอง แค่นี้ก็ช่วยสร้างความไว้วางใจได้บ้างแล้วครับ
2.ข้อที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะทำให้ไม่เชื่อใจ
#1.รู้จักควบคุมอารมณ์
บ่อยครั้งที่เราอยู่ในสถานการณ์ที่ยากที่จะควบคุมอารมณ์ การใช้อารมณ์นำมาซึ่งการทะเลาะเบาะแว้ง
อยากให้ลองใช้เหตุผลและควบคุมอารมณ์ให้ได้มากที่สุด แต่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝน ดังนั้น ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปนะครับ
#2.พ่อแม่ไม่อยากให้ทำอะไร ก็ไม่ทำดีกว่า
หากเรารู้ว่าพ่อแม่ไม่อยากให้เราทำอะไร การเลือกที่จะไม่ทำนั้นง่ายกว่า
หากไม่แน่ใจว่าสิ่งไหนทำได้หรือไม่ได้ หรือไม่เข้าใจถึงเหตุผลที่พวกเขาอยากให้เราทำสิ่งเหล่านั้น ก็วนกลับมาที่ข้อ 1 คือการพูดคุยกัน
สุดท้ายนี้เกี่ยวกับความเชื่อใจของพ่อแม่ลูก
เรื่องของ ‘การเข้าใจกัน’ หากจะพูดจริงๆก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการยอมรับและการสื่อสารของทั้งสองฝ่าย หากพยายามอยู่แค่ฝ่ายเดียวก็ทำให้เกิดผลได้ยาก แต่ในกรณีตรงข้าม การพยายามเพื่อเปลี่ยนแปลงอีกฝ่ายก็เป็นเรื่องยากเช่นเดียวกัน
หากจะให้พูดจริงๆ คนที่อยากจะให้อีกฝ่ายเข้าใจ ก็ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นและยอมปรับมุมมองตัวเองก่อน เพราถ้าทั้งสองฝ่ายดื้อ ยืนยันจะฟังแต่ความคิดเห็นตัวเอง ก็จะไม่เกิดการเข้าใจกันอย่างแน่ แต่ถ้ามีฝ่ายใดปรับก่อน โอกาสที่อีกฝ่ายจะเปลี่ยนแปลงก็ยังพอมีบ้าง (อาจจะฟังดูไม่แฟร์เท่าไรที่เราพยายามฝ่ายเดียว แต่หากเราอยากได้ผลลัพธ์ เราก็ไม่ได้มีตัวเลือกเยอะ)
เรื่องของความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องอาศัยเวลา และความอดทน ดังนั้น อยากให้ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป…โดยเฉพาะความสัมพันธ์ในครอบครัว เพราะครอบครัวนี้เองจะเป็นเหมือนสิ่งที่อบอุ่นที่สุดสิ่งหนึ่งในชีวิตเลยครับ
บทความล่าสุด
การจัดโต๊ะคอมให้สวยถูกใจ พร้อมฟังก์ชันการใช้งานครบครัน...
ในมุมมองหนึ่ง ‘ลูกคนกลาง’ ดูเหมือนจะต้องแบกรับภาระทางใจอันหนักอึ้ง...