การวางแผนล่วงหน้า คืออะไร? สำคัญอย่างไรกันนะ

การวางแผนล่วงหน้า

หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในชีวิตคนเรามากที่สุดก็คือ ความพร้อม ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เกิดมารวยเก่ง เก่งกว่า หรือ ฉลาดกว่าคนอื่น แต่ถ้าเราวางแผนเตรียมตัวมาดีกว่า โอกาสในการประสบความสำเร็จของเราก็จะสูงขึ้น

ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่า การวางแผนล่วงหน้าคืออะไร สำคัญอย่างไร และ หากเราอยากจะวางแผนล่วงหน้าที่ดีได้ เราต้องรู้อะไรบ้าง

นิยามของการวางแผนล่วงหน้า

การวางแผนล่วงหน้า หมายถึง กระบวนการคิดล่วงหน้าก่อนที่จะทำอะไร เมื่อต้องลงมือทำจริงจะทำอย่างไรและใครควรเป็นคนที่จะทำ พูดง่าย ๆ มันก็คือการวางแผนเพื่อที่จะเชื่อมช่องว่างระหว่างจุดที่เรายืนอยู่ในวันนี้กับจุดที่เราต้องการจะไปถึงนั่นเอง 

การวางแผนล่วงหน้ายังเกี่ยวข้องกับการกำหนดวัตถุประสงค์และการตัดสินใจล่วงหน้าถึงแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสม ว่าจะจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เรากำลังจะเจอในอนาคตได้อย่างไรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้ ด้วยวิธีการการคิดเชิงตรรกะและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล

ดังนั้น เรายังสามารถกำหนดการวางแผนเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายและกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ ส่วนผสมที่สำคัญอีกอย่างของการวางแผนคือเวลา แผนต่าง ๆ จะได้รับการพัฒนาตามช่วงเวลาที่กำหนดอยู่เสมอเนื่องจากไม่มีเรื่องใดที่สามารถวางแผนได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ความสำคัญของการวางแผนล่วงหน้า

1.การวางแผนล่วงหน้าให้ทิศทางในการทำงานที่ชัดเจน

การวางแผนล่วงหน้านั้นเปรียบเสมือนกับแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว การวางแผนนั้นทำให้ชัดเจนว่าจะต้องทำอะไรและอย่างไร ฯลฯ โดยการระบุล่วงหน้าว่าจะต้องทำงานอย่างไร การวางแผนจะให้ทิศทางในการดำเนินการ เราจะรู้ล่วงหน้าว่าจะต้องทำงานไปในทิศทางใด 

สิ่งนี้นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่าหลักเอกภาพของทิศทาง ซึ่งหมายถึงการที่การทำงานจะมีแผนงาน วัตถุประสงค์ และทิศทางในการทำงานที่ชัดเจนแต่เพียงอย่างเดียวนั่นเอง หากเป็นการทำงานในองค์กร ถ้าไม่มีการวางแผนพนักงานก็จะทำงานในทิศทางที่แตกต่างกันและองค์กรจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้

2.การวางแผนล่วงหน้าช่วยลดความเสี่ยงของความไม่แน่นอน

ในแต่ละวันเราต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนและสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดมากมายทุกวัน การวางแผนล่วงหน้านั้นจะช่วยให้เราสามารถเผชิญกับความไม่แน่นอนได้ดีขึ้น เนื่องจากมีนักวางแผนที่เขาพยายามคาดการณ์อนาคต โดยการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับอนาคต ด้วยการคำนึงถึงประสบการณ์ในอดีตของตนและการสำรวจสภาพแวดล้อมต่างๆ ร่วมด้วย

แผนดังกล่าวนั้นมีขึ้นเพื่อเอาชนะความไม่แน่นอนดังกล่าวที่ และยังรวมถึงความเสี่ยงที่ไม่คาดคิด เช่น การเกิดอุบัติเหตุ หรือ ภัยพิบัติต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้จะถูกจัดไว้อยู่ในแผนเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

3. ลดกิจกรรมที่ต้องใช้เวลามากเกินไปและสิ้นเปลือง

การวางแผนงานไว้ล่วงหน้านั้น ทำให้เกิดความชัดเจนในความคิดและการกระทำและงานก็จะสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น หากไม่มีการวางแผนงานเอาไว้ล่วงหน้า ก็อาจจะเกิดกิจกรรมบางอย่างที่เราไปให้ความสำคัญผิดจุด ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

4. การวางแผนล่วงหน้าส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

การวางแผนล่วงหน้าต้องใช้ความคิดสูงและเป็นกระบวนการทางปัญญา ดังนั้นจึงมีขอบเขตที่ดีในการค้นหาแนวคิดที่ดีกว่า วิธีการและขั้นตอนที่ดีกว่าในการทำงานต่าง ๆ กระบวนการวางแผนบังคับให้เราคิดต่างออกไปและกำหนดเงื่อนไขในอนาคต ดังนั้นจึงทำให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ อยู่ตลอด

5. การวางแผนล่วงหน้าอำนวยความสะดวกในการตัดสินใจ

การวางแผนล่วงหน้าช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้หลายอย่าง ในการวางแผนเป้าหมายจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าและมีการคาดการณ์สำหรับอนาคต การคาดการณ์และเป้าหมายเหล่านี้ช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว

6. การวางแผนล่วงหน้าทำให้ประเมินผลลัพธ์ที่ออกมาได้

เป็นการเปรียบเทียบระหว่างผลลัพธ์ตามแผนที่วางเอาไว้กับผลลัพธ์จริงที่เกิดขึ้นและหากมีความแตกต่างระหว่างทั้งสองอย่าง ให้ลองหาสาเหตุของการคลาดเคลื่อนดังกล่าว ซึ่งทำให้เราสามารถประเมินผลลัพธ์ที่ออกมาได้เบื้องต้น และใช้มาตราการต่างๆ เพื่อทำให้ตรงกับผลลัพธ์จริงกับที่วางแผนไว้มากที่สุด

7. มุ่งเน้นความสนใจไปที่วัตถุประสงค์

ในการวางแผนจะต้องเริ่มต้นด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ ขั้นตอนวิธีการและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งจัดทำขึ้นในการวางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้เท่านั้น เมื่อปฏิบัติตามแผนแล้ว ก็จะนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ด้วยความพยายามที่จะมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของแผนการนั้น

ลักษณะของการวางแผนที่ดี

การวางแผนที่ดีนั้นควรที่จะมีลักษณะหรือวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งจะสามารถทำให้แผนงานที่วางไว้ล่วงหน้า เมื่อนำไปปฏิบัติจริงแล้ว จะทำให้สามารถใช้การได้จริงและเกิดประโยชน์สูงสุด การวางแผนที่นั้นควรจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

1.การวางแผนที่ดีต้องสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง

แผนที่ดีต้องใช้งานได้จริงและให้มุ่งความสำเร็จไปตามเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้ การวางแผนที่ดีนั้นไม่ควรเป็นการวางแผนที่ดูเพ้อฝันจนเกินไป หรือในทางปฏิบัติไม่สามารถทำได้จริง  และการปฏิบัติตามแผนที่วางเอาไว้ ก็ควรเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก

2.การวางแผนที่ดีต้องมีความชัดเจน

แผนที่ดีต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้เรา หรือ ตัวผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนสามารถเข้าใจได้ถูกต้องตรงกันนั่นเอง

3.การวางแผนที่ดีต้องทั้งประหยัดและมีประสิทธิภาพในเวลาเดียวกัน

แผนที่ดีนั้นจะต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างประหยัดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และเมื่อใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ไปแล้ว ก็ต้องได้รับผลตอบแทนจากการดำเนินงานที่คุ้มค่าและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เบื้องต้น

4.การวางแผนที่ดีต้องสามารถยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้

แผนที่ดีควรมีความยืดหยุ่นและเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ปฏิบัติจริง

5.การวางแผนที่ดีต้องเป็นที่ยอมรับ

แผนที่ดีนั้นควรต้องเป็นที่ยอมรับจากคนอื่น ๆ ด้วย ในกรณีที่เราต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นที่เกี่ยวข้องและไม่สร้างความขัดแย้งจนส่งผลเสียต่อทีม หรือองค์กรที่เราสังกัดอยู่

ขั้นตอนของกระบวนการวางแผน

การวางแผนล่วงหน้าเป็นงานที่มีความสำคัญมาก เพราะสามารถส่งผลต่อสิ่งที่กำลังจะกระทำ ว่าผลจะสำเร็จหรือออกมาในรูปแบบไหน หรือถ้าเป็นระดับองค์กรก็จะยิ่งมีผลกระทบมากขึ้นไปอีก  หากไม่ได้วางแผนการจัดการต่าง ๆ ให้ดีนัก  ผลที่ออกมาอาจไม่เป็นไปแบบที่คาดหวังไว้ ดังนั้นกระบวนการวางแผนจึงจำเป็นต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการจัดทำแผนงาน ซึ่งมีกระบวนการที่สำคัญ ๆ ดังนี้

1. การกำหนดวัตถุประสงค์

การวางแผนเริ่มต้นด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์เนื่องจากขั้นตอน และ วิธีการทั้งหมดถูกกำหนดไว้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เท่านั้น กำหนดวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน

2.การเลือกสภาพแวดล้อมในการวางแผน

เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการวางแผนงานต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน หากในระหว่างนั้นเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการวางแผน เช่น อยู่สถานที่ที่ไม่มีความเป็นส่วนตัว และ ได้รับเสียงรบกวนจากรอบข้าง อากาศภายในห้องร้อนเกินไปในระหว่างที่กำลังวางแผนงานก็อาจส่งผลเสียต่อการคิดแผนงานต่างๆได้ดังนั้นควรเลือกสถานที่ที่เหมาะสมต่อการคิดและวางแผนกระบวนการต่างๆ

3. วิธีการดำเนินงาน

หลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้ว เนื่องจากมีหลายวิธีในการบรรลุวัตถุประสงค์ จะต้องทราบวิธีการทั้งหมดในการบรรลุวัตถุประสงค์นี้ โดยการเน้นไปที่วิธีการดำเนินการว่า ทำอย่างจึงจะบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้และสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี 

ตัวอย่างเช่น หากวัตถุประสงค์ คือ การเพิ่มยอดขาย อาจจะเริ่มจากการเสนอส่วนลดหรือจัดโปรโมชั่นเพิ่มเติมต่าง ๆ เพื่อทำการตลาดของสินค้าให้ดีขึ้นเกินเป้าที่ตั้งไว้

4.การเตรียมการ

ก่อนที่จะทำการวางแผน จะต้องมีการเตรียมการในด้านต่าง ๆ ดังนี้

การจัดหาข้อมูลและการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร รายงานผลการดำเนินแผนงานที่ผ่านมา  ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรในทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวข้อง สถิติ  ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่ต้องประสบ กำหนดแนวปฏิบัติในการจัดทำแผน ระยะเวลา ขั้นตอนการเตรียมการ  เงื่อนไขและรายละเอียดต่าง ๆ ที่กำหนดให้มีในแผน

5.การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้จัดทำแผนจะต้องนำข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมมาทำการวิเคราะห์เพื่อหาจุดแข็งจุดอ่อน ปัญหาและอุปสรรคที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  เพื่อนำข้อมูลที่วิเคราะห์นี้ไปใช้จัดทำแผนให้เหมาะสมและสอดคล้องตามขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะทำให้เอื้อต่อความสำเร็จได้ง่าย

6. การประเมินทางเลือกอื่น

หลังจากจัดทำรายการทางเลือกอื่นต่าง ๆ  จะเริ่มประเมินทางเลือกอื่นแต่ละทางเลือกโดยการจดบันทึกด้านดีและด้านลบของการประเมินผลของทางเลือกอื่นที่ใช้สำรองในการวางแผนเผื่อไว้ด้วย หลังจากนั้นตัดทางเลือกที่มีด้านลบหรือข้อเสียเยอะและเลือกที่มีด้านบวกสูงสุดว่าอันไหนมีสมมติฐานที่อาจเป็นไปได้มากที่สุดจึงถูกเลือกให้เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ทางเลือกอื่นจะได้รับการประเมินโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้

7. การเลือกทางเลือก

ทางเลือกที่ดีที่สุดถูกเลือกไว้ แต่ด้วยเหตุนี้ทางเลือกที่ดีที่สุดจะรู้ได้อย่างไร เพราะไม่สามารถคำนวณหรือหาผลลัพธ์ให้ได้แบบคณิตศาสตร์ ในบางครั้งแทนที่จะเลือกทางเลือกเดียวคุณสามารถเลือกทางเลือกอื่นร่วมกันได้ ให้เลือกแผนการที่ดีที่สุดเสมอ จะมีความเป็นไปได้มากที่สุด เลือกจากการประเมินว่ามันส่งผลเสียต่อแผนการที่วางแผนไว้นั้นน้อยที่สุด

8.การกำหนดแผน

หลังจากที่ได้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จแล้ว กำหนดวัตถุประสงค์เบื้องต้น หรือ วัตถุประสงค์พื้นฐาน และสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก การกำหนดผลงานของแผนให้มี ความชัดเจน  เฉพาะเจาะจงโดยการนำจุดแข็งและจุดอ่อนที่ได้วิเคราะห์แล้วมาประเมินทางเลือกว่าปัจจัยในส่วนใดที่จะทำให้ภารกิจและวัตถุประสงค์ขององค์การบรรลุผลได้

9. การดำเนินงานตามแผน

ในขั้นตอนนี้จะต้องนำภารกิจ วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ที่กำหนดเอาไว้มาตีความเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ  กำหนดวัตถุประสงค์รองซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ระยะสั้น  ในขั้นตอนนี้จะระบุความชัดเจนของแผนในด้านต่างๆ คือ ความต้องการของแผน ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาหรือกำหนดการดำเนินการ

10. ขั้นตอนการวัดผลและประเมินผล

ในส่วนของขั้นตอนนี้เริ่มจากการการประเมินผลตามสภาพจริงของการวางแผนงานต่าง  ๆ โดยดูจากการสังเกต หรือ จดบันทึก การรวบรวมข้อมูลจากผลที่เกิดจากการวางแผนงาน  หรือจากสิ่งที่ผู้วางแผนได้ปฏิบัติ เน้นประเมินทักษะจากการคิดและวางแผนการทำงานล่วงหน้าที่ทำให้การดำเนินงานนั้นออกมาดี ไม่มีอุปสรรค หรือ สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เมื่อพบปัญหาที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน

11. การติดตาม

การวางแผนเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องดังนั้นงานจะไม่จบลงเพียงแค่นั้น จึงต้องมีการติดตามผล มีประสิทธิภาพหรือไม่ ดูจากผลจากการติดตามและการประเมินผลการติดตามจะให้ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จ เพื่อนำแผนไปสู่การปฏิบัติ ตรวจสอบแผนอย่างรอบคอบในขณะที่ดำเนินการอยู่ การเฝ้าติดตามผลความคืบหน้าจากการวางแผนจึงมีความสำคัญมากเพราะช่วยในการตรวจสอบเงื่อนไขความถูกต้องต่างๆและการคาดการณ์ที่คาดการณ์ไว้ในแผนว่าสามารถใช้ได้อย่างเป็นจริงในสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่ 

หากสิ่งเหล่านี้ไม่เป็นจริงก็จะมีการเปลี่ยนแปลงในแผนทันทีและปรับเปลี่ยนหลายอย่างในแผนเพื่อให้เป็นไปตามแบบแผนที่วางไว้

ข้อจำกัดของการวางแผน

1. การวางแผนอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ยาก

เมื่อมีการวางแผนเพื่อตัดสินใจแนวทางการดำเนินการในอนาคต ผู้ที่วางแผนอาจไม่อยู่ในฐานะที่จะเปลี่ยนแปลงได้ การปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง อาจไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ความเข้มงวดในแผนเช่นนี้อาจสร้างความยุ่งยากได้ในอนาคต

2. การวางแผนอาจไม่สามารถใช้การได้อย่างลงตัว

เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง และ กฎหมาย เป็นเรื่องยากมากที่จะคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตเหล่านี้ แผนอาจล้มเหลวหากมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยมาก สภาพแวดล้อมปัจจุบันประกอบ ด้วยจำนวนกลุ่มคน เศรษฐกิจ สภาพอากาศ จึงเป็นเรื่องยากมากสำหรับการประเมินการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ในอนาคต 

ตัวอย่างเช่น วางแผนว่าจะต้องไปพบลูกค้าภายในอีกหนึ่งชั่วโมง แต่ปรากฎว่าในทันใดนั้นฝนดันตกลงมาและทำให้ส่งผลไปถึงการจราจรติดขัดต่าง ๆ จึงทำให้แผนที่วางไว้ว่าจะพบไปพบลูกค้าในเวลานั้นคาดเคลื่อนไม่เป็นไปตามแผนการเวลาที่กำหนดไว้ได้

3. การวางแผนด้วยความเข้มงวดมาก

ในการวางแผนงานอย่างเข้มงวดในบางครั้งก็ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ แต่จะมีวิธีการใดบ้างที่จะบอก ได้ว่าเริ่มเข้มงวดกับการวางแผนจนมากเกินไป ความเข้มงวดจนเกินไปในบางครั้งอาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดี  เช่น มีกฎเกณฑ์มากเกินไปในการวางแผนงานต่าง ๆ ภายในกลุ่ม มีข้อกำหนดและข้อจำกัดในการวางแผนทุกเรื่อง

4. การวางแผนบางครั้งอาจมีต้นทุนมาก

กระบวนการวางแผนอาจมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เนื่องจากเป็นกระบวนการทางปัญญา และบางครั้ง จำเป็นต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนนี้ นอกเหนือจากค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้แล้ว อาจต้องใช้เวลาและเงินเป็นจำนวนมากเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงและตัวเลขที่ถูกต้อง ดังนั้นจึงเป็นกระบวนการที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย หากผลประโยชน์ของการวางแผนไม่เกินต้นทุนก็ไม่ควรดำเนินการต่อไป

5. เป็นกระบวนการที่ใช้เวลานาน

กระบวนการวางแผนเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานาน เนื่องจากต้องใช้เวลาในการประเมินทางเลือกต่าง ๆ และเลือกทางที่ดีที่สุด ต้องใช้เวลามากในการพัฒนาการวางแผน ด้วยเหตุนี้การดำเนินการจึงล่าช้า 

6. การวางแผนไม่ได้รับประกันความสำเร็จ

บางครั้งการวางแผนไม่ดีพอ หรือ แผนที่วางไว้อาจผิดพลาด หรือ ล้มเหลวก็ทำให้ไม่เกิดความสำเร็จได้ ดังนั้นสิ่งเหล่านั้นจะส่งผลในอนาคตด้วย วิธีที่ช่วยรับมือได้อีกอย่างก็คือ การวางแผนสำรองเตรียมเผื่อไว้เสมอเนื่องจากหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ก็มีแนวโน้มที่จะต้องพึ่งพาการวางแผนล่วงหน้าด้วยเช่นกัน

7. การขาดความแม่นยำ

ในการวางแผนเรามักจะคิดล่วงหน้าและคำนึงถึงอนาคตเท่านั้น แต่อนาคตมักไม่แน่นอนเสมอไปเพราะสมมติฐานที่คิดไว้บางทีก็อาจไม่ถูกต้องเสมอไป และหากสมมติฐานเหล่านี้ไม่เป็นจริงขึ้นมาในการวางแผนทั้งหมดสถานการณ์ปัจจุบันหรือในอนาคตก็จะเกิดความผิดพลาดล้มเหลวได้

ทั้งหมดที่กล่าวไปข้างต้นก็ทำให้เห็นแล้วว่าการจะวางแผนอะไรสักอย่างนั้น จะมีขั้นตอนและวิธีการอย่างไรบ้าง ซึ่งนั้นก็หมายความว่าการจะทำอะไรเราควรมีการเตรียมพร้อมและมีวิธีที่จะรับมือกับทุกสถาณการณ์ เพราะถ้าหากว่าเราไม่มีเป้าหมาย หรือ ทำไปโดยไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้าในอนาคต เมื่อเกิดปัญหาขึ้นเราจะรับมือกับอุปสรรค์ได้หรือไหม ดังนั้นการวางแผนล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและทำให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่น

บทความล่าสุด