จิตแพทย์กับนักจิตวิทยา ต่างกันยังไง – สรุปข้อแตกต่าง

จิตแพทย์กับนักจิตวิทยา ต่างกันยังไง - สรุปข้อแตกต่าง

ในยุคสมัยนี้ผู้คนเริ่มใส่ใจกับสุขภาพจิต (Mental Health) กันมากขึ้น คำถามยอดฮิตก็คือจิตแพทย์กับนักจิตวิทยา ต่างกันยังไง ซึ่งทั้งสองอาชีพนี้ถึงแม้ว่าจะช่วยรักษาฟื้นฟูจิตใจเราได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ก็ตาม แต่ก็มีความแตกต่างทั้งในวิธีการทำงานและกระบวนการต่างๆ เรามาลองศึกษากันเลยครับ

จิตแพทย์กับนักจิตวิทยา ต่างกันยังไง

จิตแพทย์ เป็นคนที่ต้องจบแพทยศาสตร์และต้องได้รับการอบรมเฉพาะทางด้านจิตเวชศาสตร์ จึงจะเรียกว่า จิตแพทย์ ส่วนนักจิตวิทยาเป็นคนที่มีความรู้ด้านจิตวิทยาโดยเฉพาะหรือจบการศึกษาด้านปรัชญา จึงจะเรียกว่า นักจิตวิทยา ทั้งสองอาชีพมีหน้าที่ในการช่วยฟื้นฟูผู้ป่วย แต่ด้วยวิธีที่ไม่เหมือนกัน

ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจข้อแตกต่าง เรามาดูความหมายของทั้งจิตแพทย์และนักจิตวิทยากันก่อนนะครับ

จิตแพทย์ คืออะไร

จิตแพทย์ คือ หมอที่ต้องรักษาผู้ป่วยที่เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บในเรื่องของอารมณ์ จิตใจ ระบบประสาทหรือสมองให้ทำงานเป็นปกติ แล้ววินิจฉัยโรคเพื่อหาแนวทางการรักษาต่อไป

การวินิจโรคจองจิตแพทย์ต้องอาศัยการตรวจหาสาเหตุจากสารเคมีในสมองและอาจจะต้องมีการใช้ยาเพื่อปรับความสมดุลของสารเคมีที่ผิดปกติของสมองอีกด้วย เพื่อให้สิ่งเหล่านั้นกลับมาทำงานเป็นปกติเหมือนเดิม

นอกจากนี้ยังพบว่าการรักษาของจิตแพทย์คือการรักษาจากสภาพอาการของป่วยและมีการจ่ายยาเหมือนการรักษาทั่วไปของหมอด้านอื่นๆ หรืออาจใช้การใช้คลื่นไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นสมอง

ที่บอกว่าจิตแพทย์มีความเหมือนกับหมอทั่วไปคือ การซักประวัติ ตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุ การรักษาและการป้องกัน แต่นอกจากนี้แล้วจิตแพทย์ยังต้องมีทักษะด้านการฟัง สังเกต ตั้งคำถาม และวิเคราะห์จากสิ่งที่เห็นให้ถูกต้องและแม่นยำอีกด้วย

กระบวนการวินิจฉัยโรค มุ่งเน้นในเรื่องของโรคทางกายเป็นหลักแล้วค่อยรักษาโรคทางจิต แล้วเมื่อรักษาโรคทางกายหาย อาการทางจิตก็มีแนวโน้มว่าจะหายไปด้วย โดยอาศัยการตรวจสอบและวินิจฉัยว่าสมองมีการกระทบกระเทือนหรือไม่ แล้วส่งผลให้สารเคมีในสมองมีการเปลี่ยนแปลงหรือทำงานผิดปกติอย่างไรบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้อาการทางจิตผิดปกติได้

จิตแพทย์จะใช้คู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิตของสหรัฐอเมริกา แบบทดสอบในเรื่องอื่น ๆ การสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย หรืออาจจะต้องมีการเอกซเรย์ร่วมด้วยเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและรักษาตรงกับอาการของผู้ป่วยมากที่สุด

ในแง่ของกระบวนการรักษานั้นจิตแพทย์จะมีการผู้ป่วยในช่วงเวลาที่สั้นๆไม่กินครึ่งชั่วโมงหรือระมาณสามสิบนาทีเพื่อพูดคุย วินิจฉัยอาการ และทำการจ่ายยา แล้วต้องมีการเว้นระยะนัดหมายผู้ป่วยประมาณหนึ่งถึงสามเดือน

ทั้งนี้จิตแพทย์ยังต้องมีความรู้ทั้งในเรื่องยาที่ใช้รักษาและการใช้วิธีบำบัดทางจิต แต่ต้องขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยว่าร้ายแรงระดับไหนแล้วหมอก็จะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกันออกไป

ถ้าหากใครที่รู้สึกสิ้นหวัง เศร้า หดหู่ ซึมเศร้า ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีค่า ไม่อยากอยู่บนโลกใบนี้ หรือแม้กระทั่งอยากเลือกใช้สารเสพติดเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นก็จำเป็นต้องพบจิตแพทย์เลย เพื่อจะได้รักษาได้อย่างรวดเร็วและถูกวิธี     

อย่างไรก็ตามก่อนที่เราต้องไปพบจิตแพทย์นั้น เราควรสังเกตและสำรวจความเป็นอยู่ของตัวเราก่อนว่าใช้ชีวิตให้มีความสมดุลหรือไม่ พบว่ามีความทุกข์หรือความเครียดหรือไม่

ถ้าพบว่าไม่สมดุลเราควรหาวิธีเพื่อทำให้สุขภาพจิตเราดีขึ้น นั่นก็คือ การพักผ่อนหรือทำให้ตัวเองผ่อนคลาย หรือการหาทำอะไรในสิ่งที่ตัวเองชอบหรือสนใจ สิ่งเหล่านี้เป็นการช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้น เพื่อให้ตัวเราเองรู้สึกมีความสุขขึ้น รักและเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น

นักจิตวิทยา คืออะไร

นักจิตวิทยา คือ คนที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในเรื่องของอารมณ์ จิตใจ ความคิด และพฤติกรรมหรือลักษณะ รูปแบบการใช้ชีวิตของคนเราโดยเฉพาะ และมีหน้าที่ใช้คอยให้คำปรึกษาและวิธีการบำบัดเป็นหลัก

ทักษะพื้นฐานของการเป็นนักจิตวิทยาก็คือ นักจิตวิทยาจะต้องมีทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดีมาก มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นเป็นอย่างดี และมีความเมตตาและปรารถนาดีต่อผู้อื่น

ปัจจุบันนักจิตวิทยาก็ยังเป็นที่ต้องการของเราอยู่ เนื่องด้วยการแข่งขันในสังคมที่มีมากขึ้นหรือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพสังคม ทำให้เราเกิดภาวะกดดัน เครียด กังวล แม้กระทั่งรู้สึกดิ่งมาก เราจำเป็นต้องพึ่งนักจิตวิทยาเพื่อให้พวกเขาได้รับฟังและเยียวยาความรู้สึกหรือสภาพจิตใจเราให้ดีขึ้น

การทำงานของนักจิตวิทยาจะใช้การพูดคุย สอบถาม สัมภาษณ์ วิเคราะห์และให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยที่มีอาการ เช่นความเครียด ความวิตกกังวล เป็นต้น แต่ยังใช้แบบทดสอบเพื่อประเมินสมรรถภาพทางสมอง แบบประเมินความเครียดและซึมเศร้า หรือการใช้แบบประเมินชี้วัดสุขภาพจิต

หน้าที่หลักของนักจิตวิทยาคือช่วยหาทางออกที่ดีและเร็วที่สุดแก่คนที่มีความทุกข์และไม่สบายใจ คอยรับฟังเป็นส่วนใหญ่ และต้องใส่ใจรายละเอียดข้อมูลทุกอย่างที่ได้สัมภาษณ์จากผู้ป่วยเพื่อนำมาวิเคราะห์ให้ตรงกับอาการ

ระยะเวลาของการพูดคุย ให้คำปรึกษาใช้เวลาประมาณ 45 นาที อาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยว่ามีความร้ายแรงมากแค่ไหนและดุลยพินิจของนักจิตวิทยาด้วย

วิธีที่ช่วยให้เราไปพบนักจิตวิทยาน้อยลง คือ การที่เราสามารถเลือกเส้นทางดำเนินชีวิตให้มีความสุขได้โดยไม่มีความเครียดหรือความทุกข์จากปัจจัยภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราด้วยความรู้สึกและรูปแบบความคิดของเราเอง

การเลือกมองโลกในแง่ดีเป็นสิ่งสำคัญมาก อยู่กับปัจจุบันให้เยอะๆ อดีตมันผ่านมาแล้ว อะไรที่เอามาเป็นบทเรียนได้ก็เอามาสอนตัวเอง อนาคตเราสามารถคิดและวางแผนได้แต่ไม่จำเป็นต้องทำให้ตัวเองรู้สึกกดดันจนสูญเสียความสุขในปัจจุบันไป

สรุปข้อแตกต่างระหว่างจิตแพทย์และนักจิตวิทยา

จากที่กล่าวมาข้างต้นจิตแพทย์และนักจิตวิทยามีความเหมือนกันและต่างกัน ดังนี้

จิตแพทย์และนักจิตวิทยามีการพูดคุย สอบถามอาการของผู้ป่วย ทำแบบทดสอบเพื่อประเมินสภาพของจิตใจและพฤติกรรมและอาศัยการบำบัดในการรักษาเหมือนกัน

การทำจิตบำบัดของจิตแพทย์และนักจิตวิทยามีหลากหลายวิธี เช่น การพูดคุย ให้คำปรึกษาเพื่อบำบัดความคิดและพฤติกรรม ให้มีการปรับเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะปกติทั้งในเรื่องของทัศนคติ รูปแบบความคิดและสภาพจิตใจ หรือการกำหนดลมหายใจเพื่อฝึกสติ เพื่อให้ละความเครียดและความคิดในแง่ลบต่าง ๆ

นอกจากนี้ยังมีการใช้การบำบัดจิตพลวัต เป็นการช่วยค้นหาสาเหตุ ความทรงจำที่โดนกดทับไว้มาเนิ่นนาน หรือความคิดที่มีการขัดแย้งกันเองโดยอยู่ในระดับของจิตไร้สำนึก ทั้งนี้การรักษานักจิตวิทยาอาจต้องใช้มากกว่าหนึ่งวิธีหรือเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งโดยขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยด้วย

การใช้วิธีบำบัดใช้เวลาไม่เกินหนึ่งชั่วโมง ในตอนต้นจะใช้วิธีการพูดคุยและสอบถามก่อน แล้วค่อยให้ผู้ป่วยได้ระบายความในใจออกมา ซึ่งจิตแพทย์และนักจิตวิทยามีหน้าที่รับฟังอย่างตั้งใจและมีความปรารถนาดีที่จะรักษา

ในมุมมองของจรรยาบรรณของจิตแพทย์และนักจิตวิทยาจะต้องมีการเก็บความลับของผู้ป่วยทุกคน และมีการนัดหมายติดตามอาการอีกครั้งประมาณ 2-3 สัปดาห์

คนที่อยากเข้ารับการบำบัด ไม่ควรรอจนตัวเองเข้าขั้นร้ายแรง ถึงไปพบทั้งสองคนนี้ เมื่อใดที่คุณรู้สึกต้องการใครสักคนที่คอยที่เป็นที่พึ่งทางใจและคอยรับฟังปัญหาที่คุณพบเจอ คุณสามารถเข้าทำการรักษาหรือทำการบำบัดได้เลย

ในบางกรณีของคนที่มารักษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยาต้องทำงานร่วมกัน เช่น กรณีผู้ป่วยผ่านการพูดคุยกับนักจิตทยาแล้ว ยังไม่เพียงพอหรือยังไม่หาย จำเป็นต้องพึ่งยาจากจิตแพทย์นั่นเอง

ในเรื่องความต่างของจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคือ จิตแพทย์ต้องวินิจฉัยโดยการตรวจสารเคมีในสมองและใช้ยาในการรักษาเป็นหลัก แต่นักจิตวิทยาใช้วิธีพูดคุย ให้คำปรึกษา เป็นที่ระบาย วิเคราะห์อาการ และใช้วิธีบำบัดอารมณ์ สภาพจิตใจ และปรับเปลี่ยนรูปแบบความคิด การใช้ชีวิตเป็นหลัก

เพราะฉะนั้นจึงอยากให้ทุกคนรู้สึกปลอดภัยและไม่แปลกแยกเมื่อเราต้องพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา ไม่อยากให้มองว่ามันผิดปกติ เพราะเราทุกคนต่างมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันอยู่แล้ว

ในเมื่อเราหาทางออกให้ตัวเองไม่ได้ เราจำเป็นต้องหาคนที่เป็นที่พึ่งทางใจให้กับเรา และชี้แนะให้เราเจอทางสว่างมากขึ้น นั่นเป็นสิ่งที่ดีและเป็นเรื่องปกติมาก ๆที่มนุษย์เราต้องเจอหรือควรจะเป็นอยู่แล้ว

สุดท้ายนี้เกี่ยวกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยา

การพบจิตแพทย์และนักจิตวิทยาไม่ใช่เรื่องแย่หรือน่าอายแต่อย่างได้ ทั้งหมดมันขึ้นอยู่กับตัวเราทั้งนั้น เราทำเพื่อตัวเรา เพื่อให้มีความสุขในการใช้ชีวิตในทุก ๆวันมากขึ้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความคิดของใคร

บางครั้งเราอาจได้รับแนวทางการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น เราควรเปิดใจให้กว้าง อย่ากลัวหรือคิดว่ามันต้องแย่ เชื่อว่าทุก ๆอย่างจะสมบูรณ์และดีขึ้นนั้นอยู่กับรูปแบบความคิดของตัวเราเอง

บทความนี้ผมทำขึ้นมาเพื่อให้ข้อมูลทุกคน เพื่อที่ทุกคนจะได้รู้ว่าเวลาตัวเองหรือคนรอบข้างมีปัญหา ทางออกที่ดีที่สุดจะอยู่ที่จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยากันแน่ ทั้งสองอาชีพมีจุดแข็งจุดอ่อนไม่เหมือนกัน

อย่างไรก็ตาม หากคุณยังไม่รู้ว่าต้องไปหาใครกันแน่ วิธีง่ายๆก็คือไปลองหาทั้งสองแบบดูเลย ตราบใดที่คุณได้พูดคุยกับมืออาชีพที่มีความน่าเชื่อถือ การไปพบทั้งจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาก็ไม่ได้มีข้อเสียหายอะไรต่อสุขภาพจิตของคุณเลย มีแต่จะทำให้ดีขึ้นเท่านั้น

บทความล่าสุด