วิธีแก้เสียงสั่นเครือเวลาตื่นเต้น (สาเหตุ และขั้นตอนการแก้)

วิธีแก้เสียงสั่นเครือเวลาตื่นเต้น

เสียงสั่นเครือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน

ไม่ว่าคุณจะ present งานต่อหน้าคนหลายร้อย หรือแค่อยากจะแนะนำตัวกับคนแปลกหน้าแค่คนเดียว 

มันเป็นอาการตามธรรมชาติที่ทุกคนก็เป็นกัน อาการที่เกิดจากการประมาทหรือตื่นเต้นจนทำให้ร่างกายไม่สามารถพูดตามสิ่งที่สมองคิดหรือตามสิ่งที่ใจคุณอยากได้

วิธีแก้เสียงสั่นเครือ

เราสามารถแก้เสียงสั่นเครือได้ด้วยการฝึกซ้อมพูดจนหายกลัว หรือไม่ก็ฝึกสมาธิและการหายใจจนสามารถรับสภาพความตื่นเต้นเวลาต้องเจอประสบการณ์ใหม่ๆเดินต้องพูดต่อหน้าคนใหม่ๆที่เราไม่รู้จัก เพราะเสียงสั่นเครือเกิดจากการที่คุณกลัวคนหรือกิจกรรมที่คุณไม่รู้จักหรือไม่เคยเจอมาก่อนจนทำให้เกิดอาการตื่นเต้น

  • ฝึกซ้อมจนหายกลัว เสียงสั่นเครือเกิดจากความกลัวเพราะเราไม่มั่นใจในตัวเอง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดีที่สุดก็คือซ้อมพูดซ้อมทำจนกว่าจะหายกลัว หากเรามั่นใจแล้วว่าสิ่งที่เราทำเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เราจะทำได้โดยไม่ผิดพลาด ความกลัวก็จะหายไป
  • ฝึกสมาธิและการหายใจ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกอย่างที่เราสามารถฝึกซ้อมก่อนหน้าได้ บางครั้งสิ่งที่เราอาจจะต้องฝึกด้วยก็คือการทำสมาธิและการควบคุมการหายใจ เผื่อเวลาที่เราเจอเหตุที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เราจะได้ไม่ต้องรนมากเพราะเราไม่มีเวลาซ้อมมาก่อน
  • ดื่มน้ำเยอะๆเพื่อลดสภาวะขาดน้ำจากการตื่นเต้น หนึ่งในสาเหตุของการมีเสียงสั่นหรือเสียงขาดเกิดจากการที่น้ำในตัวเราไม่พอ เพราะฉะนั้นเราควรจะดื่มน้ำเยอะๆเพื่อลดสภาวะการตื่นเต้น
  • ทานยาปรับฮอร์โมนในร่างกาย ข้อนี้เป็นข้อที่ควรเลี่ยงหากแพทย์ไม่ได้แนะนำ แต่หนึ่งในอาการของเสียงสั่นเครือคือหัวใจที่เต้นเร็วและความดันที่พุ่งสูงขึ้น เพราะฉะนั้นหากร่างกายคุณอยู่เหนือการควบคุมของตัวเองคนก็อาจจะสามารถทานยาเพื่อปรับฮอร์โมนเพื่อลดความตื่นเต้นได้

เสียงสั่นเครือเกิดจากอะไร

มันน่าแปลกใช่ไหมครับ เรื่องเดียวกันที่คุณสามารถเล่าให้ครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงานฟังได้ แต่พอเราต้องมาพูดต่อหน้าคน 10 คนหรือร้อยคนเรากลับรู้สึกตื่นเต้นอัดคิดคำพูดไม่ออก 

เรากลัวจะเป็นจะตาย

สาเหตุที่เราไม่สามารถพูดต่อหน้าคนอื่น หรือพูดเสียงสั่นเครือจนคนฟังไม่รู้เรื่อง ก็เพราะว่าเรามีความคิดเกี่ยวกับผู้ฟังที่ผิด เราคิดไปเองว่าผู้ฟังไม่ได้สนใจในสิ่งที่เราฟัง หรืออาจจะคิดว่ามันไม่น่าสำคัญ เราอาจจะคิดว่าวิธีพูดของเรามันคงไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด

เราคิดว่าผู้ฟังไม่เห็นด้วยกับเรา และเราไม่สามารถจะเปลี่ยนใจผู้ฟังได้

พอความกลัวมันเข้ามาในจิตใจ สมองของคุณก็จะเริ่มเบลอ หัวใจคุณอาจจะเต้นแรงขึ้น แขนขาจะสั้น สารอะดรีนาลีนในร่างกายก็ให้พลังงานกับคุณมากเกินกว่าที่จำเป็นต้องใช้ จนการหายใจของคุณเริ่มไม่เหมือนเดิม

ปากของคุณจะเริ่มแห้งแต่เหงื่อของคุณกลับไหลมากกว่าเดิม สารอะดรีนาลีนตัวเดิมดึงน้ำจากปากคุณแต่เป็นพลังงานส่วนอื่นแทน น้ำลายคุณแห้งจนเหมือนกับว่าเสียงจะไม่สามารถเอามาได้อีก

ทุกคนที่เห็นมองก็รู้แล้วว่าคุณกำลังกลัวอยู่ และเสียงของคุณที่ออกมาก็ฟังโดยสั่นเครือ และยิ่งคุณรู้ตัวว่าคุณกำลังแสดงให้คนเห็นว่ากลัวอยู่ เสียงของคุณก็จะสั่นมากขึ้นหรือบางทีก็ไม่ออกมาเลย

เวลาใดที่เราจะเกิดเสียงสั่นเครือ

พื้นฐานของการเกิดเสียงสั่นเครือก็คือความกลัว ความกลัวว่าเราจะทำออกมาได้ไม่ดี หรือคนที่ฟังอยู่อาจจะไม่ชอบหรือไม่สนใจฟัง

ถ้าจะพูดในแนววิทยาศาสตร์ก็อาจจะแปลได้ว่าข้อมูลที่คุณได้รับมามันไม่สะท้อนต่อข้อมูลแห่งความเป็นจริง หรือคุณไม่รู้นั่นเองว่าผู้ฟังของคุณคิดอะไรอยู่

ในทางตรงข้ามสิ่งที่คุณทำก็คือคนสร้างคำตอบขึ้นมาเอง สร้างคำตอบว่าคนฟังไม่ได้อยากฟัง แต่ก็โชคร้ายที่คำตอบที่คุณสร้างขึ้นมามันไม่ช่วยให้คุณมีความมั่นใจมากขึ้นเลย

ส่วนมากความกลัวจนเกิดเสียงสั่นเครือนี้ก็เกิดจากการที่คุณทำอะไรในสิ่งที่คุณไม่เคยทำมาก่อน ในกรณีที่คุณต้องพูดก็คือคุณกลัวในการพูดให้คนที่คุณไม่รู้จักฟัง อาจจะเป็นแค่คนแปลกหน้าคนเดียว หรือผู้ฟัง 10 คนก็ได้

อาการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาทำงานนะครับ ยกตัวอย่างเช่นเด็กบางคนก็รู้สึกตื่นเต้นเวลาคุยกับผู้ใหญ่ หรือถ้าเราคุยกับคนที่เราชอบมากๆเสียงเราก็จะเริ่มสั่นก็เป็นไปได้ เพราะเรากลัวว่าเราจะทำให้คนที่ฟังอยู่ผิดหวัง โมโหหรือไม่ชอบเรา

ขั้นตอนการแก้เสียงสั่นเครือ

มาถึงตอนนี้ผมได้อธิบายสาเหตุของเสียงสั่นเครือ เวลาที่คุณอาจจะรู้สึกกลัวจนเกิดเสียงสั่นเครือ และวิธีการแก้เสียงสั่นเครือเบื้องต้นไปแล้ว แต่เรามาลองดูให้ลึกกันอีกทีว่าเราจะสามารถทำอะไรเป็นขั้นตอนในการแก้ได้ไหม

ขั้นตอนที่ 1 ฝึกซ้อมหน้ากระจก สิ่งที่สำคัญคือคุณต้องสามารถเห็นตัวเองและได้ยินเสียงตัวเองเวลาคนกำลังพูดอยู่ หากคุณไม่มีกระจกที่ใกล้ตัวก็สามารถใช้มือถือหรือคอมพิวเตอร์แทนได้ จุดสำคัญก็คือคุณต้องสามารถรับรู้ได้ว่าจุดไหนที่คุณควรจะพัฒนา และหาวิธีแก้โดยที่ไม่เข้าข้างตัวเอง

ขั้นตอนที่ 2 ฝึกการหายใจ หนึ่งในอาการเสียงสั่นเครือคือการที่ร่างกายหยุดทำงานชั่วขนาดจนลืมหายใจ จนทำให้เสียงในลำคอเราออกมาได้ไม่ดีหรือไม่ออกมาเลย การฝึกหายใจให้เป็นจังหวะจะทำให้ร่างกายคุณคงที่ และทำให้ระบบประสาทของคุณทำงานดีขึ้น ก็เลยพูดง่ายๆก็คือตื่นเต้นน้อยลง

ขั้นตอนที่ 3 ทำให้เป็นกิจจะลักษณะ ทั้งการฝึกซ้อมและการฝึกหายใจนั้นเป็นแค่วิธีการแก้ระยะสั้น พอคุณก้าวผ่านปัญหาครั้งแรกไปได้คุณก็อาจจะเจอปัญหานี้ใหม่ถ้าคุณไปอยู่ในสถานการณ์ที่คุณไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน เพราะฉะนั้นการฝึกซ้อมหรือฝึกหายใจให้เป็นกิจจะลักษณะจะทำให้คุณสามารถรับมือต่อสถานการณ์ที่คุณไม่ถ้าคิดได้ 

ขั้นตอนที่ 4 หาอะไรผ่อนคลายมาแทรกเรื่อยๆ สำหรับคนบางคนการฟังเพลงหรืออ่านหนังสือ (หรืออะไรก็ได้ที่ตัวเองชอบ) ก่อนทำอะไรที่น่าตื่นเต้นก็เป็นวิธีที่จะทำให้ตื่นแต่น้อยลงได้เหมือนกันครับ เพราะการทำอะไรพวกนี้มันคือการทำให้ร่างกายเรารู้สึกเหมือนกับว่าเราทำอะไรที่ชอบหรือว่าทำอะไรที่เรารู้สึกสบายใจอยู่ ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราให้เด็กทำข้อสอบในห้องเรียนตัวเองแท้ๆจะเป็นในห้องสอบที่เด็กไม่เคยนั่งมาก่อน ตามสถิติแล้วเด็กจะได้คะแนนดีกว่าถ้าเวลาข้อสอบได้ห้องเรียนของตัวเองครับ

บทความล่าสุด