ความกลัวเป็นสิ่งที่มนุษย์พัฒนามาเพื่อป้องกันตัวเองจากสิ่งอันตราย แต่บางครั้งความกลัวที่มาเกินไปก็จะปิดโอกาสของตัวเรา
ตอนที่เราเป็นเด็ก พ่อแม่สอนให้อย่าคุยกับคนแปลกหน้าเพราะมันอันตราย แต่ยิ่งเราโตขึ้นทักษะการคุยกับคนแปลกหน้าหรือคนที่เราไม่รู้จักก็ยิ่งสำคัญขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปคุยกับคนในปาร์ตี้หรือการสัมภาษณ์งานกับบริษัทในฝันของเรา
คนส่วนมากมักจะแนะนำให้ ‘เข้าสังคมบ้าง’ หรือ ‘ทำตัวให้น่าสนใจหน่อย’ แต่ปัญหาก็คือคำแนะนำพวกนี้ไม่ช่วยอะไรเราเลย ไม่มีใครบอกเราว่าการเข้าสังคมหรือการคุยกับคนที่ไม่รู้จักนั้น ‘ทำอย่างไร’
นอกเหนือจากนั้น หากเราเป็น introvert หรือคนชอบเก็บตัว เราก็ยิ่งไม่อยากออกงานสังคมใหญ่ๆหรืองานที่มีคนแปลกหน้าเยอะ มันทำให้เรารู้สึกเหนื่อย
ในวันนี้ผมมีวิธีคุยกับคนแปลกหน้าหรือคนที่เราไม่รู้จักมาแนะนำทุกคนครับ โดยรวมแล้วผมก็ไม่ใช่คนชอบเข้าสังคมเท่าไรแต่ก็รู้สึกว่าสามารถสร้างเพื่อนได้ถ้าผมต้องการ เพราะฉะนั้นผมมั่นใจมากว่าวิธีพวกนี้ใช้ได้ผลจริง
อย่าลืมว่าแค่เพราะเรากลัวไม่ได้แปลว่าเราทำไม่ได้
อะไรทำให้เราไม่กล้าคุยกับคนแปลกหน้า
คำตอบสั้นๆก็คือความกลัว – ความกลัวเกินความจำเป็นที่กีดดันโอกาสของคุณ หากคุณเป็นคนที่ชอบรอให้คนเข้ามาคุยกับคุณก่อนทุกที มันอาจจะยากที่จะเปลี่ยนนิสัยนี้
แต่พวกเรากลัวอะไรกันนะ ส่วนคนจะกลัว ‘พูดผิด’ แต่พูดผิดมันเป็นยังไงกัน คนส่วนมากก็พูดจาปกติ เราคงไม่พูดจาด่าหรือว่าคนอื่นมี่เพิ่งเคยเจออยู่แล้ว คนส่วนใหญ่กลัวสิ่งที่พูดมันจะฟังดูไม่ดี แปลว่าเราอาจจะกังวลมากเกินไปหรือเปล่า
ต่อให้เรามีความมั่นใจในตัวเองมากแค่ไหน การที่เราต่อว่าคนอื่นต่อหน้าต่อตาก็คงไม่สามารถทำให้ใครทำเราได้ สิ่งที่คนมักลืมคิดกันก็คืออารมณ์กับความรู้สึกเป็นสิ่งที่สามารถสื่อสารกันได้มากกว่าการพูด หากเรารู้สึกผ่อนคลายและมั่นใจในตัวเอง เราก็จะสามารถสื่อสารความรู้สึกนี้ไปสู่อีกฝ่ายได้ แต่ถ้าคุณสามารถสื่อสารความรู้สึกนี้ได้ คำพูดที่ออกจากปากของคุณก็จะฟังดูรู้สึกธรรมชาติมากขึ้น
หากคุณรู้สึกกลัวที่จะคุยกับคนแปลกหน้า ให้ลองนำวิธีพรุ่งนี้ไปฝึกใช้ในการคุยดูครับ
11 วิธีคุยกับคนที่ไม่รู้จัก
#1 คำวิเศษ ‘สวัสดี’
มันอาจจะฟังดูเรียบง่าย แต่ถ้าคุณเป็นคนที่แม้แต่จะเริ่มบทสนทนายังทำไม่ได้เลย คำเริ่มต้นที่ดีที่สุดก็คือ ‘สวัสดี’ แต่ต้องเป็นคำสวัสดีที่พูดด้วยความเป็นมิตร
เรามัวแต่กังวลเรื่องปัญหาของตัวเองจนลืมคิดไปว่าคนอื่นก็คงรู้สึกอึดอัดหรือตื่นเต้นในการเข้าสังคมเหมือนกัน เพราะฉะนั้นการที่เราเป็นคนเริ่มต้นพูด สวัสดี ก่อนก็ถือเป็นการแสดงความมั่นใจในตัวเองและเป็นการยื่นไมตรีให้คนอื่นในครั้งเดียวกัน คนส่วนมากนิสัยดีกว่าที่เราคิดครับ หากเราเข้าไปคุยกับใครแล้วเขาไม่คุยกับเรา ก็จำไว้เลยว่าคนที่อยากคุยกับเรามีอีกเยอะแยะ
#2 อย่าไปยึดติดกับผลลัพธ์
หากเราเลิกที่จะยึดติดกับผลลัพธ์ เราก็จะไม่รู้สึกเสียใจหรือโมโหถ้าคนไม่ยอมคุยกับเรา
เราควรรู้ข้อแตกต่างระหว่างความคาดหวังและสิ่งที่เกิดขึ้นจริง มีกี่ครั้งแล้วที่คุณมัวแต่กังวลในกรณีที่แย่มากๆ แต่พอจริงนั้นเกิดขึ้นจริงๆแล้วคุณก็รู้สึกว่ามันไม่ได้แย่มากขนาดนั้นเลย
หากเราไม่ยึดติดกับผลลัพธ์ เราก็จะสามารถโฟกัสกับสิ่งที่อยู่ต่อหน้าเราได้ 100%
#3 ยอมรับการโดนปฏิเสธ
คุณต้องเข้าใจเวลาคุณโดนปฏิเสธ ปัญหาไม่ได้เป็นที่คุณ คนส่วนมากมองโลกแค่จากมุมมองตัวเองจนลืมคิดไปว่าคนที่เราคุยอยู่ด้วยคิดหรือรู้สึกยังไง ยิ่งเราคุยกับคนที่ไม่รู้จักด้วยแล้วมันก็ยิ่งยากที่จะพยายามคิดในมุมมองคนอื่น บางครั้งคนที่ปฏิเสธเราอาจจะรู้สึกหงุดหงิดหรือตื่นเต้นอยู่ก็ได้ คนที่ปฏิเสธคุณคือคนที่พลาดโอกาสสำคัญไปครับ
#4 อย่าสนใจความคิดคนแปลกหน้ามาก
ชีวิตเป็นของคุณ คุณมีสิทธิ์ที่จะคุยกับใครก็ได้ที่คุณอยากคุย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเปิดรับคนใหม่ๆได้ เราควรปล่อยให้คนอื่นคิดหรือทำอะไรที่เค้าอยากทำ แต่เราไม่ควรปล่อยให้ความคิดหรือการกระทำพวกนั้นมาทำให้เรารู้สึกแย่
มันอาจจะยากที่จะตัดสินว่าใครนิสัยดีหรือไม่ดีจากรูปลักษณ์ภายนอก แต่หากสิ่งที่อีกฝ่ายพูดออกมาทำให้เรารู้สึกไม่ดีหรือขัดแย้งกับสิ่งที่เราคิด เช่นพูดจาไม่สุภาพหรือไม่ให้เกียรติคนอื่น เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพจิตของตัวเองให้เดินออกมาแล้วหาคนใหม่คุยแทนครับ
#5 เริ่มทำ…ต่อให้คุณรู้สึกกลัว
หนึ่งในวิธีเอาชนะความกลัวที่ได้ผลที่สุดก็คือการทำมันซ้ำไปซ้ำมา ก้าวผ่านความกลัวหลายๆครั้งจนเรารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องปกติไป
เราคงไม่สามารถทำให้ความกลัวหายไปได้หมด 100% แต่ถ้าเราตั้งใจสู้กับความกลัวนี้เรื่อยๆ เราจะรู้สึกว่าความกลัวไม่สามารถหยุดเราได้อีกต่อไป ยกตัวอย่างเช่นเวลาที่ผมรู้สึกลัวที่จะเข้าไปคุยกับใคร ผมจะจินตนาการสถานการณ์ที่ทำให้ผมรู้สึกสงบหรือรู้สึกตลก หลังจากนั้นความกลัวก็ไม่ได้รู้สึกน่ากลัวอีกต่อไป
เพราะฉะนั้นนอกจากจะออกไปงานเข้าสังคมแล้ว อย่ารอให้คนอื่นเดินเข้าไปคุยกับเราก่อนเลยครับ ให้หาคนที่เราคิดว่าดูเป็นมิตรแล้วก็เดินเข้าไปแนะนำตัวเองเลย
#6 ฝึกซ้อม
หากในครั้งแรกคุณทำตัวเคอะเขินหรือดูดุดันไป คุณก็ไม่ต้องเสียใจไปครับ ตราบใดที่คุณมีความจริงใจ คุณก็จะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
ทักษะการเข้าสังคมก็เหมือนทักษะอื่นๆของคุณ ยิ่งคุณฝึกคุณก็ยิ่งเก่งขึ้นเรื่อยๆ ต่อให้การคุยกับคนที่ไม่รู้จักครั้งแรกของคุณออกมาน่ากลัวหรือน่าขายหน้า มันก็คงเป็นความรู้สึกที่จางลงไปตามกาลเวลา ให้เรามองประสบการณ์ในการคุยกับคนแปลกหน้าแต่ละครั้งเป็นบทเรียนเพื่อการพัฒนาครั้งต่อไปเรื่อยๆ
#7 ใส่ใจกับอีกฝ่าย
ให้ลองคุยเรื่องที่อีกฝ่ายสนใจ ถามความคิดเห็นหรือไอเดียของอีกฝ่าย และหาบทสนทนาต่อจากสิ่งที่อีกฝ่ายพูดออก
วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้อีกฝ่ายสนใจในการสนทนาก็คือการแสดงความสนใจในชีวิตของเขา ไม่ว่าใครก็ชอบพูดถึงเรื่องของตัวเองทั้งนั้น ถ้าคุณไม่รู้หรือไม่เข้าใจในสิ่งที่อีกฝ่ายพูดก็ให้ถามคำถามเพิ่มเพื่อเรียนรู้จากอีกฝ่ายให้มากเข้าไว้ คุณจะสามารถเรียนรู้นิสัยหรือความชอบของอีกฝ่ายจากการฟังได้เยอะกว่าที่คิดครับ
#8 ทำให้อีกฝ่ายหัวเราะ
การหัวเราะทำให้บทสนทนาน่าสนุกมากขึ้น ไม่ว่าใครก็มีความสุขจากการหัวเราะและเราก็คงมีความรู้สึกดีต่อคนที่ทำให้เราหัวเราะด้วย มันจะดีมากถ้าเราเลิกกังวลเรื่องปัญหาของตัวเองแล้วหาอะไรสนุกๆคุยกับคนที่อยู่ต่อหน้าเรา ไม่ว่าจะเป็นคนที่เรารู้จักหรือไม่รู้จักก็ตาม
หลายคนที่ผมรู้จักถึงกับขนาดเตรียมเรื่องตลกหรือเรื่องไร้สาระเก็บไว้สองสามเรื่องก่อนเข้างานสังคมเลยครับ แต่คุณก็ไม่จำเป็นต้องฝึกซ้อมให้โปรเหมือนตลกมืออาชีพก็ได้ แค่เตรียมมุกธรรมดาแล้วก็ยิ้มไปเล่นมุกไปก็พอแล้ว
#9 คุยเรื่องสิ่งที่อีกฝ่ายหลงไหล
เวลาเราเห็นคนคุยเรื่องสิ่งที่เค้าหลงไหลหรือสิ่งที่คนเรียกกันว่า ‘แพชชั่น’ เราจะเห็นได้เลยว่าตาอีกฝ่ายจะเป็นประกายเลย ถ้าคุณสังเกตุเห็นเรื่องแบบนี้ก็ให้พยายามถามอีกฝ่ายเพิ่ม ชวนเค้าคุยเรื่องนี้เข้าไว้ แน่นอนว่าหากเป็นเรื่องที่อ่อนไหวง่ายแบบเรื่องการเมืองหรือศาสนาในบทสนทนาแรกผมคิดว่าเลี่ยงไว้จะปลอดภัยกว่า
หากเราสามารถหา ‘คีย์เวิร์ด’ ที่อีกฝ่ายตอบสนองได้ดี ก็ให้ลองใช้คำคำนั้นในประโยคด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากคุณถามอีกฝ่ายว่า ‘อากาศเป็นยังไงบ้าง’ แล้วอีกฝ่ายบอกว่า ‘อากาศช่วงนี้ดี ฝนไม่ตก น่าออกไปวิ่งมากเลย’ คุณก็ควรจะถามเค้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิ่งเป็นต้น
ถ้าคุณคิดว่าคุณ ‘รับฟัง’ อีกฝ่ายมากพอแล้ว ให้ต่อบทสนทนาด้วยเรื่องของคุณที่มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของอีกฝ่าย การเล่าเรื่องตัวเองให้เหมือนความสนใจของอีกฝ่ายเป็นวิธีสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีมากครับ
#10 ยิ้ม
การยิ้มเป็นการสร้างความประทับใจแรกที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง คุณควรจะฝึกซ้อมวิธียิ้มหน้ากระจกดูครับ การยิ้มทำให้ทุกอย่างดีขึ้นเสมอ
ไม่มีใครที่จะกลัวคนที่ยิ้มให้ด้วยความจริงใจหรอกครับ การยิ้มเป็นการทำให้อีกฝ่ายรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น เวลาคุณคุยกับคนที่ไม่รู้จักให้พยายามยิ้มบ่อยๆ คุณจะสังเกตุได้ว่าอีกฝ่ายจะ ‘ยิ้มตอบ’ คุณแน่นอน การยิ้มเป็นจุดเริ่มต้นของบทสนทนาที่น่าประทับใจ
#11 ให้คิดว่าอีกฝ่ายเป็นเพื่อนของคุณ
ถ้าคุณทำตามวิธีนี้คุณจะรู้สึกว่าการคุยกับอีกฝ่ายเป็นสิ่งที่รู้สึกเป็นธรรมชาติมากขึ้น แทนที่จะทำตัวดูอึดอัดหรือเคอะเขิน การที่เราทำตัวสบายเป็นธรรมชาติจะทำให้เราหาเพื่อนได้ง่ายขึ้น
ครั้งต่อไปที่คุณออกไปเจอเพื่อนสนิทของคุณ ให้ลองสังเกตุตัวเองดีๆว่าคุณทำตัวยังไงและชอบคุยเรื่องแบบไหน หากคุณสามารถหาคนที่สามารถสนใจเรื่องเดียวกับคุณ หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณได้ บทสนทนาก็จะดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น
#12 ออกไปคนเดียว
หากคุณออกไปเที่ยวกับเพื่อน แฟน หรือ ครอบครัวของคุณ โอกาสที่คุณจะออกไปเจอหรือไปคุยกับคนใหม่ๆก็มีน้อยลง ถ้าคุณออกไปคนเดียว คุณก็จะบังคับตัวเองให้เจอคนใหม่เรื่อยๆ วิธีนี้จะฝึกให้คุณกล้าที่จะเจอ
คนใหม่มากขึ้นแถมยังทำให้ทักษะการเข้าสังคมคุณดีขึ้นด้วย
#13 รู้ว่าเมื่อไรถึงควรปิดบทสนทนา
สุดท้ายนี้ไม่ว่าบทสนทนาจะออกมาดีหรือไม่ดี เราก็ต้องรู้ว่าเมื่อไรเราควรจะปิดบทสนทนา หากคุณรู้ตั้งแต่แรกว่าคุณไม่อยากสนทนากับคนข้างหน้าคุณต่อ คุณก็ควรหาวิธีเลี่ยงตัวเองออกมาแบบสุภาพหรือแบบเนียนๆ หรือบางทีเราอาจจะมีธุระส่วนตัวที่ต้องทำต่อทั้งๆที่อยากคุยกับคนข้างหน้าเราต่อก็ได้ ในกรณีนี้ก็ให้บอกเค้าว่าคุยกันแล้วรู้สึกสนุกมาก แต่คงต้องเป็นโอกาสหน้านะถึงจะได้คุยต่อ ให้ขอเบอร์ อีเมล์ หรือไม่ก็ไลน์แล้วก็ปลีกตัวเองออกมาในขณะที่คุณยังรู้สึกดีอยู่ได้เลยครับ
สุดท้ายแล้วยังไงคำแนะนำที่ดีที่สุดก็ไม่พ้นการออกไปเริ่มทำดูครับ ต่อให้ผมแนะนำเทคนิคหรือวิธีมากแค่ไหน ถ้าเราไม่กล้าเราก็คงไม่มีโอกาสหาเพื่อนใหม่ๆ ลองให้โอกาสตัวเองออกไปคุยกับคนใหม่ๆ หากเราทำตัวเป็นมิตรกับคนอื่น โอกาสที่เค้าจะทำตัวเป็นมิตรกลับก็มีเยอะมากครับ
บทความล่าสุด
การจัดโต๊ะคอมให้สวยถูกใจ พร้อมฟังก์ชันการใช้งานครบครัน...
ในมุมมองหนึ่ง ‘ลูกคนกลาง’ ดูเหมือนจะต้องแบกรับภาระทางใจอันหนักอึ้ง...